ก่อนที่เราจะเริ่มทำโฆษณา Google Shopping หรือ โฆษณากับเว็บไซต์ ecommerce สิ่งสำคัญที่เราจะต้องมาดูกันเลยก็คือ การแสดงค่ายอดขายระหว่างเว็บไซต์กับ Google Analytics เพื่อที่เราจะได้รู้ว่ามีการคลาดเคลื่อนมากน้อยแค่ไหน ถ้ายอดขายของคุณใน Google Analytics หรือ GA และ Shopping Cart นั้นไม่ตรงกัน คุณไม่ใช่คนเดียวที่ประสบกับปัญหานี้ แต่คนขายของผ่านเว็บไซต์หลายๆ คนก็คงเจอปัญหาแบบเดียวกัน เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ แต่บางกรณีก็ไม่สามารถแก้ได้ 100% เรามาดูกันดีกว่าว่าสาเหตุอาจจะมาจากอะไรได้บ้าง
1. Shopping Cart จัดการข้อมูลยอดขายได้ดีกว่า Google Analytics
Shopping cart ของ ecommerce แทบจะทุกอัน หรือที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่าง Shopify มีวิธีการจัดการกับ การยกเลิกสินค้า, การ Ad to cart ไม่สำเร็จ, การทดลองการสั่งซื้อ,โปรโมชั่น,โค้ดส่วนลด, หรือแม้กระทั่ง การคืนเงิน ยอดที่ได้ก็จะคิดตามนั้น แต่ Google Analytics ไม่ได้เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น นี่คือปัญหาหลักที่เราเจอ ว่าทำไมยอดถึงไม่ตรงกัน
เมื่อผู้สั่งซื้อได้รับการยืนยันการสั่งซื้อ Google Analytics ก็จะนับว่าเป็นการสั่งซื้อที่สำเร็จแล้ว และจดจำยอดจากการสั่งซื้อนั้นไว้ แต่เมื่อมีการยกเลิกสินค้าในภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นในกรณีที่ต้องการเงินคืน หรือบัตรเครดิตตัดไม่ผ่าน ข้อมูลเหล่านี้จะไม่ตีกลับไปที่ Google Analytics
โดยปกติแล้วคนทำเว็บมักจะมีการทดลองคำสั่งซื้อบนเว็บไซต์ เพื่อตรวจเช็คการทำงานต่าง ๆ ในระบบ แต่ถึงแม้ว่าได้มีการลบคำสั่งซื้อนั้นออกไปแล้ว Google Analytics ก็ยังคงเก็บข้อมูลนั้นไว้อยู่
การทดลองคำสั่งซื้อสินค้านี้ อาจทำให้ยอดคลาดเคลื่อนไปเยอะ ดังนั้น ก่อนที่คุณจะเอายอดนั้นมาใช้ คุณต้องตัดยอดการทดลองสั่งซื้อออกไปก่อน ถ้าคุณเห็นว่ายอดมันสูงแบบแปลกๆ คุณต้องหาที่มาของยอดนั้นเสียก่อน ดูว่ามาจากการทดลองสั่งซื้อหรือเปล่า
2. Ecommerce tracking code ในหน้ายืนยันไม่ถูกต้อง
ถ้าคุณเซท Ecommerce tracking ในหน้า Confirmation ไม่ถูกต้อง ดังนั้นมันอาจจะไม่ส่งข้อมูลที่ถูกต้อง หรือไม่ส่งข้อมูลทั้งหมดไปที่ Google Analytics ด้วยความที่ว่า Shopping cart software ไม่ได้ใช้ ecommerce tracking ดังนั้นถึงแม้ว่า ecommerce tracking ใน Google Analytics จะทำงานไม่ถูกต้อง แต่มันก็จะไม่กระทบกับการเก็บข้อมูลยอดขายใน Shopping cart ของคุณ เพียงแต่จะทำให้ยอดใน Google Analytics กับ Shopping cart ไม่ตรงกันเท่านั้นเอง
3. คุณไม่ได้เซทให้ข้อมูล Ecommerce ทั้งหมดส่งไปที่ Google Analytics
ถ้าคุณไม่ได้ส่งข้อมูลทั้งหมดไปที่ Google Analytics ยอดที่ไม่ตรงก็จะต่างกันมากขึ้น Ecommerce Tracking code ใน GA มีให้เลือกหลายฟิลด์ ยกตัวอย่างเช่น ‘id’, ‘affiliation’, ‘revenue’ เป็นต้น บางฟิลด์อาจจะบังคับใช้ แต่บางอันก็สามารถเป็นตัวเลือกได้ ยกตัวอย่างเช่น Google บังคับใช้ฟิลด์ ‘id’ ใน ecommerce tracking แต่ฟิลด์ของ ‘tax’ อันนี้เป็นแบบตัวเลือก อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรที่จะละเว้นฟิลด์ใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลือกหรือบังคับใช้ เพราะถ้าคุณละเว้นฟิลด์นั้นไป นั่นหมายความว่าข้อมูล ecommerce จะไม่ถูกส่งไปที่ Google Analytics
4. คุณยังใช้ Standard ecommerce tracking แทนที่จะเป็น enhanced ecommerce tracking
Enhanced ecommerce tracking จะเก็บข้อมูลได้มากกว่า Standard ecommerce tracking ยิ่งเราสามารถ Track ecommerce data ใน Google Analytics ได้มากเท่าไหร่ เราก็จะสามารถนำยอดมาเปรียบเทียบกับ Shopping card ได้แม่นยำมากขึ้นเท่านั้น
5. Google Analytics Data Sampling ของคุณมีปัญหา
ถ้าคุณมีปัญหาที่ Data sampling ใน Google analytics ยอดของคุณอาจคลาดเคลื่อนได้ถึง 10 – 80% ตัวอย่างเช่น รายงานอาจจะแสดงผลว่ายอดขายเดือนที่แล้วได้มา 75,000 บาท แต่ในความเป็นจริง ยอดขายนั้นแสนกว่าบาท
6. Google Analytics tracking code ไม่ทำงาน
ในกรณีที่ tracking code ไม่สามารถทำงานได้ ไม่ว่าจะเนื่องจากผู้ซื้อปิดการใช้งาน JavaScript, ใช้ software หรือ browser plugin ที่ไม่อนุญาตให้ tracking code ทำงานได้ ดังนั้นข้อมูลก็จะไม่ถูกเก็บใน Google Analytics แต่ในShopping cart ยังคงเก็บข้อมูลได้อยู่ หรือบางครั้ง การอัพเดตอยู่ตลอดเวลาของ ecommerce website หรือแม้แต่เกิดปัญหาที่ server ก็อาจทำให้ Google Analytics ไม่ทำงาน แต่ Shopping cart ยังคงเก็บข้อมูลได้อยู่
7. คุณเปรียบเทียบข้อมูลไม่ถูกต้อง
ถ้าคุณจะเปรียบเทียบยอดขายจาก Google Analytics กับ Shopping cart คุณต้องมั่นใจว่าคุณเอาข้อมูลที่ถูกต้องมาเปรียบเทียบ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณดูข้อมูลใน Google Analytics แต่ exclude traffic จากโมบาย ดังนั้น ในรีพอร์ตก็จะไม่มีข้อมูล traffic จากโมบาย รวมไปถึงยอดขายที่ได้มาจากโมบายก็จะไม่แสดงด้วย ทำให้ยอดจาก Shopping cart ไม่ตรงกับ GA
ถ้าคุณเปรียบเทียบยอดขายใน 6 เดือนที่ผ่านมา หรือมากกว่านั้น คุณอาจจะได้ข้อมูลที่ผิดพลาด เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงเยอะมากในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเพราะคุณไม่ได้ติด Ecommerce tracking มาก่อน หรือ ecommerce tracking เพิ่งจะมาทำงานได้อย่างถูกต้องเมื่อเดือนที่แล้ว ดังนั้นยอดขายใน 1 ปีที่ผ่านมา ระหว่าง GA กับ Shopping cart จะไม่ตรงกันอย่างแน่นอน เรามักจะลืมไปว่า เราได้ปรับเปลี่ยนอะไรไปบ้าง หรือเซทอัพอะไรไปบ้าง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ อาจทำให้ยอดไม่ตรงกันได้ง่ายๆ
8. ข้อมูลไม่เชื่อมต่อชั่วคราว
ข้อมูลยอดขายใน GA และ Shopping cart อาจจะไม่ sync กันชั่วคราว เพราะมีวิธีการเก็บข้อมูลที่ต่างกันหรือในเวลาที่ต่างกัน ถ้า GA และ Shopping cart ถูกกำหนดค่าให้รีพอร์ตข้อมูลใน Time zone ที่ต่างกัน ดังนั้นข้อมูลก็จะไม่ sync กันชั่วคราว ดังนั้น คุณต้องกำหนดให้ GA และ Shopping card รีพอร์ตข้อมูลใน Time zone เดียวกันและเปรียบเทียบข้อมูลจากทั้งสองที่หลังจากผ่านไปแล้ว 24 ชม.
9. ค่าเงินที่ต่างกัน
GA กับ Shopping cart สามารถเก็บข้อมูลเรื่องค่าเงินได้ต่างกัน ถ้าเว็บไซต์ของคุณสามารถเลือกได้หลายสกุลเงิน ดังนั้นตอนเช็คเอาท์อาจทำให้ยอดขายใน GA กับ Shopping cart ไม่ตรงกันได้
10. มีปัญหาที่ Cross domain tracking
ถ้าคุณยังไม่ได้เซท cross domain tracking หรือว่า เซทไว้ไม่ถูกต้อง ดังนั้น GA ก็ไม่สามารถรายงานข้อมูลการขายได้ทั้งหมด แต่ Shopping cart ยังคงสามารถรายงานยอดขายได้เหมือนเดิม
11. Shopping cart ของคุณไม่ซัพพอร์ต Google Analytics
Shopping cart บางอัน โดยเฉพาะแบบคัสตอม ไม่สามารถซัพพอร์ต Google Analytic ได้เต็มที่ ทำให้ไม่สามารถส่งข้อมูลทั้งหมดให้ GA ได้
12. Google Analytic ไม่ใช่ Accounting Software
Google Analytics ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นซอฟแวร์ในการทำบัญชี ดังนั้น เราไม่สามารถที่จะหวังพึ่งยอดขายที่แสดงผลได้แม่นยำ 100% อีกทั้ง ข้อมูลยอดขายระหว่าง GA กับ Shopping cart/accounting software จะตรงกันเป๊ะได้ยังไงถ้าเว็บของคุณเกิดการยกเลิกสินค้าอยู่บ่อยครั้ง, คืนสินค้าหรือจบการสั่งซื้อไม่สำเร็จ หรือแม้กระทั่ง มีโปรโมชั่น, และลดราคา อยู่เป็นประจำ
สรุปแล้ว ถ้าเปรียบเทียบยอดขายที่ได้มาจาก Shopping cart กับ Google Analytic ให้เชื่อข้อมูลจาก Shopping cart เป็นหลัก เพราะโอกาสที่ข้อมูลยอดขายของคุณจะคลาดเคลื่อนนั้นน้อยกว่า Google Analytic เยอะ ใช้ข้อมูลยอดขายที่ได้จาก Google analytic เป็นไกด์ก็พอ